วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือน

ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 - 120 วัน
3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
- ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
- มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
2. การสร้างบ่อ
- บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
- ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
- ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
- มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 - 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 - 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้

ปลาสวยงาม

ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (อังกฤษ: Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆอีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่างๆจากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า (มุมเกษตรกรรม)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 มิถุนายน 2557 15:16 น.


เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  (มุมเกษตรกรรม)
โดย อาจารย์ สุเนาว์ ฤทธิ์นุช

เห็ดฟางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มของผู้บริโภค และเกษตรกรเอง เพราะราคาที่เพิ่มสูงขึ้น วันนี้ ใครที่ต้องการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดฟางขาย เรามีเรื่องราว และเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาฝาก

เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

นั่นคือ เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ใน แนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตร ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ถือว่ายอดเยี่ยมการเพาะเห็ดฟางแบบใน ตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก

โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา ของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  (มุมเกษตรกรรม)
จุดคุ้มทุน เมื่อเทียบกับการเพาะแบบอื่นๆ

จุดคุ้มทุน ทั้งนี้ จากการเก็บตัวเลขในกระบวนวิจัยบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ถึง 9 ตะกร้า โดยวางชั้นเดียวเมื่อ 1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เพราะฉะนั้น 1 ตารางเมตร ได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ
แบบกอง คือ 3 กิโลกรัม แบบตะกร้าได้มากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และผู้สนใจที่จะเพาะเห็ดอยู่มาก

วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด

วัสดุที่เพาะเห็ดฟางนั่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่า หันไปทางไหนก็หยิบจับมาใช้เป็นวัสดุในการเพาะได้ ยกตัวอย่างเช่น ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่วได้ทุกชนิด เปลือกมันสำปะหลัง ต้นข้าวโพดแห้ง (นำมาสับ และนำไปแช่น้ำก็สามารถนำมาเพาะได้เช่นกัน ) ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ทะลายปาล์ม หรือผลปาล์ม ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด ทั้งนี้ ยังรวมไปถึง กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ นอกจากนี้ ทีผ่านมานิยมนำ กระสอบป่านเก่า ๆ ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว มาใช้เป็นวัสดุได้เช่นกัน เรียกได้ว่า อะไรที่มาจากธรรมชาติ และเก็บความชื้นได้ดี ก็สามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีวัสดุที่แตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ก็จะเป็นพวก ขุยมะพร้าว โดยขุยมะพร้าว 2 ส่วน นำมาผสมกับขี้วัว 1 ส่วน ซึ่งข้อดีของการใช้ขุยมะพร้าวกับขี้วัว ก็คือ เราจะได้ความชื้นและมีอาหารจากขี้วัว มาช่วยบำรุงให้เห็ดนั้นเติบโตได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เกษตรกร มักจะนิยมใช้ฟางข้าว เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เห็ดฟาง บรรพบุรุษของเราจะใช้ฟางข้าวในการเพาะเห็ด หรือ เห็ดจะขึ้นเองตามกองฟาง แต่ปัจจุบันที่เราไม่พบเห็นเห็ดตามกองฟาง เหมือนในอดีต เพราะ ฟางข้าวมีสารเคมีตกค้าง จากการที่เกษตรกรใช้สารพิษ ในการฆ่าแมลง และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว เป็นสาเหตุที่เราไม่แนะนำให้ใช้ฟางข้าว เพราะนอกจากเห็ดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรเพราะสารเคมีแล้ว สารพิษที่ตกค้างในฟางข้าวยังซึมผ่านเส้นใยของเห็ด เมื่อเราบริโภคเห็ดเข้าไปก็รับสารพิษเข้าไปด้วย
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  (มุมเกษตรกรรม)
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าไม่ยุ่งยาก ถ้าใครเคยเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยแล้ว ทุกอย่างเหมือนกัน แค่ยกมาใส่ตะกร้า

โดยชั้นที่หนึ่งเป็นวัสดุเพาะ คือ พวกฟางข้าว เปลือกถั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะผสมผสานกันก็ได้ ชั้นที่สองเป็นอาหารเสริม อาจจะใส่นุ่น ผักตบชวาสดแล้วก็โรยด้วยเชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางอาจจะคลุกเคล้าด้วยแป้งสาลี แป้งข้าวเหนียวหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าคลุกเคล้าจะทำให้เส้นใยเดินได้เร็วหลังจากนั้นก็ทำเหมือนชั้นที่หนึ่ง ใช้วัสดุเพาะ ส่วนชั้นที่สาม จะแตกต่างจากชั้นที่หนึ่ง

ชั้นที่สองก็คือ ด้านบนจะโรยอาหารเสริมทั้งหมดเต็มพื้นที่ของผิวตะกร้า แล้วโรยเชื้อเห็ดทั้งหมดคลุมด้วยวัสดุเล็กน้อยกดให้แน่น ๆ ให้ต่ำกว่าปากตะกร้าประมาณ 1 ช่องตา รดน้ำประมาณ2 ลิตร รดทั้งด้านบนตะกร้าและด้านข้างตะกร้า ยกใส่กระโจมเล็ก ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ขอเป็นถุงใส เพราะถ้าเป็นถุงดำเห็ดจะไม่ออกดอก
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  (มุมเกษตรกรรม)
ทั้งนี้ สามารถใช้ตะกร้าคลุมและเอาพลาสติกคลุม ก็ได้ แต่ถ้าทำหลายตะกร้าอาจจะเอาสุ่มไก่ครอบพลาสติกคลุมในที่ร่มและชื้น ประมาณวันที่ 4ก็เปิดสำรวจดูว่ามีเส้นใยมากไหม ถ้ามากก็ตัดเส้นใยสัก 5 - 10 นาที แล้วคลุมไว้อย่างเดียว ตอนเปิดถ้าตะกร้าแห้งก็รดน้ำ
นิดหน่อยประมาณวันที่ 7 - 8 ก็เก็บผลผลิตได้ โดยผลผลิตจะออกมาตามตารอบ ๆ ตะกร้า เทคนิคการโรยเชื้อเห็ดชั้นที่ 1 - 2 คือโรยให้ชิดขอบตะกร้า ตรงกลางไม่ต้องโรย ชั้นที่ 3 โรยให้เต็ม
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  (มุมเกษตรกรรม)
ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีดังนี้

1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท

2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตร
ยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท

3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท

4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้น
โครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 - 1,000 บาท

5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 - 5 บาท

6.อาหารเสริม เราสามารถใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท

7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท

8. ค่าจ้างแรงงานเพาะคิดเป็นเงินตะกร้าละ 3 บาท

9. ค่าจ้างดูแล คิดเป็นเงินต่อตะกร้าละประมาณ 5 บาท

10. ค่าจ้างแรงงาน เพื่อการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตกิโลกรัมละประมาณ 5 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 พันบาทต้น ๆ แต่หากลบค่าใช้จ่ายเรื่องโรงเรือนออกไป ราคาเห็ดฟางต่อหนึ่งตะกร้าจะลง ทุนเพียงประมาณไม่ถึง 50 บาท เท่านั้น

เค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว ทำง่าย ๆ ได้เค้กอร่อย ๆ

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว
เมื่ออบเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้ ให้คว่ำออกจากหม้อหุงข้าว พักทิ้งไว้จนเย็น (แสงไม่เท่ากันเพราะเราถ่ายไว้ทั้งแบบทำตอนไม่มีแสงแดดกับตอนมีแสงแดดจ้าหน้าตากับสีจะแตกต่างกันแต่รสชาติอร่อยเหมือนกันนะจ๊ะ) พอเค้กเย็น ใช้ด้ายเย็บผ้าแบ่งเค้ก (เนื่องจากไม่มีมีดฟันเลื่อย เราเลยลองใช้ด้ายเย็บผ้านี่แหละค่อย ๆ แบ่ง มันเวิร์กมาก 555)


วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว
ใช้พลาสติกถนอมอาหารพันรอบเค้กชั้นล่าง เตรียมไว้ รอราดหน้าเค้ก

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว
นำผงวุ้น น้ำ นมข้นจืด น้ำตาลทราย และผงโกโก้ ใส่ลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟกลาง คนผสมเรื่อย ๆ จนเดือด (อย่าใจร้อนเปิดไฟแรงนะคะไม่งั้นก้นหม้อจะไหม้ค่ะ เราโดนมาแล้วต้องอดทนคนไปเรื่อย ๆ นะคะ)

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว
จากนั้นก็ใส่แป้งข้าวโพด และนมข้นจืดลงไป คนผสมเรื่อย ๆ ห้ามหยุด (เพราะส่วนผสมจะข้นขึ้น ถ้าหยุดคนมันก็จะติดก้นหม้ออีกค่ะ อันนี้ก็โดนมาแล้วค่ะ)

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว


พอคนจนส่วนผสมข้น จะเห็นรอยตะกร้อจาง ๆ ก็ปิดไฟ แล้วใส่เนยสด คนผสมต่อจนส่วนผสมเริ่มอุ่น จากนั้นนำไปราดลงบนเค้ก (ขอแนะนำให้คนจนอุ่นเลยนะคะ เราเคยคนจากหม้อปิดไฟแปบเดียวแล้วราด ปรากฏว่า ไหลเลอะเทอะหมดเลย แล้วมันร้อนจะทำให้พลาสติกที่เราครอบไว้บิดเบี้ยวด้วยค่ะ อีกอย่างถ้าไม่คนให้อุ่นก่อน หน้านิ่มจะเป็นลิ่ม ๆ ค่ะ เวลาเทหน้าจะไม่เนียนค่ะ)

วิธีทำเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ด้วยหม้อหุงข้าว
พอราดส่วนผสมหน้านิ่มแล้ว วางเค้กทิ้งไว้ให้เซตตัว จากนั้นนำเข้าตู้เย็น (อันนี้เพื่อให้หน้านิ่มเซตตัวอย่างจริงจัง เท่าที่ทำมาหลายครั้งแล้วนะคะ เจนสังเกตว่า เวลาเราเอาเข้าตู้เย็นหรือรอให้เซตตัว ถ้าไม่มีภาชนะคลุมหรือปิดเค้กไว้ สีของหน้านิ่มจะเข้มขึ้นอีกค่ะ แต่อย่าคลุมตอนที่ยังอุ่น ๆ หรือร้อนนะคะ เพราะมันจะเป็นไอน้ำหยดลงบนเค้กได้ค่ะ)

ประเภทสุนัข




สุนัขพันธุ์ต่างๆ การจำแนกประเภทของสุนัข

พันธุ์สุนัขต่างๆ แบ่งออกได้เป็นกลุ่มตามมาตรฐานของ American Kennel Club (AKC) ซึ่งใช้กันเป็นมาตรฐานแบบหนึ่งในโลกโดยกำหนดได้ดังนี้ :1. สุนัขเพื่อกีฬาล่าสัตว์ (Sporting Breeds)
สุนัขในกลุ่มนี้ถูกคัดมาเพื่อออกล่าสัตว์เคียงคู่กันกับคนโดยทางยุโรปนั้น ถือว่าการล่าสัตว์เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง เหยื่อมักจะเป็นสัตว์ปีก เช่น ไก่ฟ้า เป็ดน้ำ ฯลฯ เมื่อคนออกไปล่าโดยใช้ปืนยิงแล้วสุนัขเหล่านี้จะเป็นผู้ไปเก็บเหยื่อมาให้ หรือบางครั้งใช้สุนัขเหล่านี้เพื่อชี้เป้า ลักษณะพิเศษของสุนัขกลุ่มนี้คือ ว่องไว ตาไว ว่ายน้ำเก่ง ไม่ก้าวร้าวต่อคน มีความเป็นมิตร ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น พอยท์เตอร์ , โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, ค็อกเกอร์ สแปเนียล, ไวเมอร์แรนเนอร์ ฯลฯ
2. สุนัขล่าสัตว์หรือฮาวนด์ (Hound Breeds)

สุนัขในกลุ่มนี้ใช้ในกรณีการล่าเช่นกัน แต่จะแตกต่างไปจากกลุ่มแรกโดยที่หมาล่าสัตว์นี้จะใช้ล่าสัตวูบก สัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งแต่กระต่ายขึ้นไปจนถึงกวางหรือคน เนื่องจากสุนัขสามารถใช้จมูกได้ดีมากด้วยการดมบนพื้นหรือใช้สายตามาองหา จากระยะไกล สุนัขบางพันธุ์ในกลุ่มนี้คัดพันธุ์มาให้เป็นพวกนักขุดนักมุด จึงสามารถแทรกตัวเข้าไปในอุโมงค์หรือโพรงเพื่อจับเหยื่อ ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น อาฟกันฮาวนด์, บาสเซ็ทฮาวนด์, บีเกิล, บลัดฮาวนด์, ดัชชุน, เกรย์ฮาวนด์ ฯลฯ3. สุนัขใช้งาน (Working Breeds)
สุนัขในกลุ่มนี้ดูจะใกล้ชิดกับมนุษย์มาก เนื่องจากมีการคัดพันธุ์โดยพิจารณาจากโครงสร้าง อารมณ์ และความสามารถพิเศษให้จำเพาะกับงาน เช่น เฝ้ายาม บรรทุกสัมภาระ พฤติกรรมของสุนัขในกลุ่มนี้คือการปกป้องฝูง การหวงพื้นที่ถิ่นฐาน และพฤติกรรมทางสังคมที่เป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น อากิตะ, บ๊อกเซอร์, มาสตีฟ, โดเบอร์แมน พินเชอร์, เกรทเดน, ร็อตไวเลอร์, เซนต์เบอร์นาร์ด ฯลฯ
4. สุนัขเทอร์เรีย (Terrier Breeds)

สุนัขในกลุ่มนี้เป็นพวกนักล่าเหมือนกันเพียงแต่เป็นการล่าจำเพาะชนิดเหยื่อ เช่น การจับหนูในโรงนา กำจัดสัตว์ที่จะมาขโมยไก่ในฟาร์ม ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น บอร์ดเดอร์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, สก๊อตติช เทอร์เรีย, มินิเอเจอร์ ชเนาว์เซอร์ ฯลฯ5. สุนัขตุ๊กตา (Toy Breeds)
สุนัขในกลุ่มนี้จัดเป็นสุนัขที่ย่อส่วนมาจากสุนัขพันธุ์ใหญ่ สุนัขในกลุ่มนี้ถูกคัดมาเพื่อเลี้ยงใกล้ชิดกับคนเรา มันจึงไวต่อความรู้สึกและการแสดงออกของผู้เป็นนาย ขณะตัวมันเองก็ค่อนข้างเจ้าอารมณ์ ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น ชิวาวา, มอลตีส, มินิเอเจอร์ พินเชอร์, ปักกิ่ง, ปอมเมอร์ราเนียน, พุดเดิ้ล(ทอย),ชิสุ,ยอร์กไชร์เทอร์เรีย ฯลฯ6. สุนัขที่ไม่ใช้เพื่อกีฬาล่าสัตว์ (Non-Sporting Breeds)
สุนัขในกลุ่มนี้เป็นสุนัขที่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เป็นเพื่อนของคนโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ไปใช้ในงานตามบรรพบุรุษเดิมอีกแล้ว โดยในปัจจุบันเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงในบ้านเท่านั้น ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น บูลด๊อก, ชาไป่, เชา-เชา, ดัลเมเชี่ยน, พุดเดิ้ล(มินิเอเจอร์ และมาตรฐาน) ฯลฯ7. สุนัขต้อนและคุ้มครองปศุสัตว์ (Herding Breeds)
สุนัขในกลุ่มนี้ใช้ต้อนฝูงปศุสัตว์เช่นวัวและยังใช้ปกป้องฝูงปศุสัตว์จาก สัตว์ต่างๆ ด้วย ตัวอย่างของสุนัขในกลุ่มนี้เช่น ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด, คอลลี่, เยอรมัน เชพเพิร์ด (อัลเซเชี่ยน), โอลด์อิงลิช ชีพด๊อ

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

10. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ



ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ



ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ



ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ


ภาพจาก thairoyalprojecttour.com

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่แฮ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 33 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอสะเมิง ครอบคลุม 24 หมู่บ้าน 1,750 ครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบแคบตามแนวเหนือ-ใต้ของห้วยแม่แฮและห้วยแม่เตียน อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส

ที่นี่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวให้เลือกทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างชมแปลงสาธิตผักและไม้ดอกที่มีผลผลิตตลอดทั้งปี, ชมแปลงผลผลิตของเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ เช่น พลับ สาลี่ พลับ องุ่นไร้เมล็ด สตรอว์เบอร์รี ฯลฯ, ชมไร่สตรอว์เบอร์รีขนาดใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ศูนย์ฯ ย่อยบ่อแก้ว โดยจะออกผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสตรอว์เบอร์รี เช่น ไวน์ น้ำสตรอว์เบอร์รี ฯลฯ หรือจะท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการไปชมวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและม้ง

รวมถึงการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะงะซึ่งเคยเป็นที่ประทับแรมของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีป่าที่สมบูรณ์และธรรมชาติงดงามเหมาะสำหรับการศึกษาธรรมชาติ และมีบริเวณที่กางเต็นท์ตั้งแคมป์ได้, จุดชมวิว ชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่งดงามที่ยอดดอยม่อนยะ บ้านน้ำจาง และบ้านม่อนยะใต้ มีบริเวณตั้งแคมป์ได้, เส้นทางเดินป่าและตั้งแคมป์ที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะงะ, แหล่งน้ำธรรมชาติที่บ้านห้วยขมิ้น ห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร, ถนนทุ่งบัวตอง ตามเส้นทางแม่เตียน-แม่แฮ- และแม่แฮ-ป่าเกี๊ยะน้อย ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะมีดอกบานสะพรั่ง และดอกนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

9. อำเภอไชยปราการ




อำเภอไชยปราการ


ภาพจาก ททท.

อำเภอไชยปราการ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 128 กิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม แหล่งท่องเที่ยวอำเภอไชยปราการ มีมากมายหลากหลาย ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เช่น อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำแม่ฝางและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ยอดดอยที่สูงที่สุดคือยอดดอยเวียงผา มีความสูง 1,834 เมตร, เขื่อนแม่ทะลบหลวง มีบริการล่องเรือ ร้านอาหารเมนูปลา, หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสูน (ภูแสนดาว) ธรรมชาติเขียวขจีที่ความสูง 1,000 เมตร มีเรือนรับรอง ลานกางเต็นท์, วัดพระเจ้าพรหมมหาราช (วัดป่าไม้แดง) วัดประจำอำเภอไชยปราการ เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ประดิษฐานอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช และพระพุทธมหามงคล ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไม้แดง ตำบลหนองบัว

วัดถ้ำตับเต่า ภายในมีถ้ำ 2 ถ้ำ คือ ถ้ำแจ้ง ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ และถ้ำมืด ประดิษฐานเจดีย์นิ่ม, กาดเมืองผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดเป็นแท่งหินเสาหินรูปร่างต่าง ๆ วิจิตรงดงาม, น้ำซาวรู มหัศจรรย์อุโมงค์ส่งน้ำใต้พิภพที่หล่อเลี้ยงชาวอำเภอไชยปราการ กว่า 20 รู จึงเรียกว่า "เมืองมหัศจรรย์ น้ำซาวรู" เป็นธารน้ำธรรมชาติไหลออกจากช่องหิน กลายเป็นลำน้ำสายใหญ่ โดยไม่ทราบว่าน้ำมาจากไหน, ถ้ำผีแมน การค้นพบอารยธรรมของมนุษย์ที่เคยตั้งรกรากอยู่ในแถบนี้ มีหลักฐานคือโลงบรรจุศพมนุษย์โบราณอายุประมาณ 1-2 พันปี

สระน้ำมรกต สระน้ำจืดธรรมชาติสีฟ้าครามเหมือนน้ำทะเลลึก, ป่าพันปี ป่าดึกดำบรรพ์มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้, สวนอินทผลัม บ้านสวนโกหลัก แห่งเดียวในประเทศไทย, กองบัญชาการกองทัพ 3 คณะชาติ ก๊กมินตั๋ง กองพล 93 (ถ้ำง๊อบ) เคยเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหารเช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง, หมู่บ้านหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา ที่หมู่ 12 บ้านสันทราย ตำบลศรีดงเย็น เป็นหมู่บ้านหัตกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงาม และดอยผาแดง ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทิวทัศน์งดงาม อากาศเย็นตลอดปี จนสามารถปลูกไม้เมืองหนาวและดอกทิวลิปได้

ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5345 7029